พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง

.

.

. . . . พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดม่วง  ตั้งอยู่ภายในวัดม่วง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ริมแม่น้ำแม่กลอง วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ ตามประวัติบอกไว้ในคัมภีร์ใบลานเขียนด้วยอักษรมอญว่า มีอายุอยู่ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลานั้น ชุมชนบ้านม่วงและบริเวณสองฝั่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีกลุ่มชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายมอญ อยู่ร่วมกันกับกลุ่มชนอื่น เช่น ไทย จีน ลาว ญวน เขมรและกะเหรี่ยง มีการผสมผสานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เกิดเป็นเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่นและความที่ชุมชนบ้านม่วงมีวิถีชีวิตผูกผัน อยู่กับประเพณีและความเชื่อดั่งเดิม ทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ด้านมอญศึกษาแก่ผู้สนใจมากมาย

.

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง

. . . . สร้างขึ้นในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณแผ่นดินเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นเงิน 6 ล้านบาท วัดม่วง ชาวบ้านบ้านม่วงและมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ช่วยกันบริจาคสมทบอีก รวม 2,670,000 บาท เพื่อให้การก่อสร้างและตกแต่งภายในเสร็จสมบูรณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ 26 กุมกาพันธ์ พุทธศักราช 2536

.

.

วิถีชีวิตของชาวบ้านม่วง

. . . . ปัจจุบันถ้ามองจากอาชีพในการเพาะปลูก ชาวบ้านม่วงคือคนไทยเยี่ยงชาวบ้านในสังคมชาวนาทั้งหลาย เพราะมีหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ศาลเจ้า และอื่นๆ เช่นเดียวกับชุมชนอื่นๆทั่วไป แต่เนื้อแท้ภายในของชาวบ้านม่วง คือ คนมอญที่ยังดำรงรักษาขนบธรรมเนียมภาษาและพิธีกรรมในระบบความเชื่อที่สืบต่อกันมาอย่างเคร่งครัด การนับถือพระพุทธศาสนานั้นนันได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านม่วงก็ว่าได้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชน ล้วนสัมพันธ์กับความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแทบทั้งสิ้นคือ เห็นได้จากประเพณีเที่ยวกับชีวิต เช่น งานบวชนาค และงานศพ หรือไม่ก็พิธีสิบสองเดือน เช่น วันสงกรานต์และวันออกพรรษาวัด คือศูนย์กลางทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างแท้จริง เป็นที่ที่ชาวบ้านมาชุมมกันในงานพิธีกรรมและประเพณีต่างๆที่ผู้นำทางปัญญาของชุมชน คือ พระภิกษุสงฆ์ที่มีอาวุโส เช่น เจ้าอาวาส เป็นต้น ถัดจากวัดก็คือ ศาลผีและคาลเจ้าที่มีอยู่ทั่วไปนับแต่ศาลผีเล็กๆในเขตบ้านไปจนถึงศาลเจ้าใต้ต้นไม้ใหญ่ๆซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนชาติ เหตุนี้บรรดาบ้านช่องของชาวบ้านในท้องถิ่นนี้จึงให้ความสนใจในการอนุรักษ์ต้นไม้อย่างมากมาย ทั้งบ้าอื่นๆริมฝั่งน้ำแม่กลอง ล้วนมีการรักษาต้นไม้ใหญ่ๆไว้ในเขตวัดและศาลเจ้า คาลผีทั้งสิ้น ทั้งศาสนาพุทธและความเชื่อในเรื่องผี รวมทั้งอาชีพหลักในเรื่องการเพาะปลูกที่คล้ายคลึงกัน มีส่วนสำคัญยิ่งในการทำให้ชาวมอญในบ้านม่วง มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะเสมอภาคไม่มีชนชั้นซึ่งสะท้อนให้เห็นจากลักษณะบ้านเรือนที่มีขนาดใกล้เคียงกัน การแต่งกายแบบเรียบง่าย รวมไปถึงการมีเครื่องใช้สอยเหมือนกันและการใช้ชีวิตประจำวันแบบเรียบง่ายเหมือนกัน ทำนองตรงข้าม การมีหน้าตา ตลอดจนฐานะทางสังคมกลับอยู่ที่ความสวยงามและใหญ่โตของวัดอันเป็นของส่วนรวม

  • เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
  • พระครูภัททสิริธรรม เจ้าอาวาสวัดม่วง โทร. 085 173 6252 หรือ
  • คุณสอางค์ พรหมอินทร์ โทร. 089 885 8817