ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .เมืองราชบุรี เป็นหัวเมืองสำคัญในทางยุทธศาสตร์ด้านตะวันตกมาตั้งแต่อดีต ด้วยเป็นชายแดนที่เป็นหน้าด่านที่สำคัญในการเดินทัพ และการรบระหว่างไทยกับพม่ามจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองราชบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๒ (ภาพที่๑)ถือเป็นเมืองราชบุรีแห่งที่ ๓ เมืองราชบุรีแห่งแรก คือ เมืองโบราณสมัยทวารวดีหรือเมืองโบราณคูบัว ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี(ภาพที่๒) ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ แม่กลอง เมืองราชบุรีแห่งที่ ๒ คือ เมืองสมัยเขมรตั้งอยู่บริเวณวัดมหาธาตุราชบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี (ภาพที่ ๓) อยู่ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองเช่นเดียวกับเมืองโบราณคูบัว แต่เมืองราชบุรีสมัยที่ ๓ นั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ าแม่กลอง (ที่มา : สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี)

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักเมืองและการสร้างเมือง ที่ปรากฏใน “กลอนไดเอรี่ซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้าโปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์เจ้าหญิงผ่องในงานทรงบ าเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ (หน้า ๒๗๗-๒๘๔)๑ความตอนหนึ่งว่า

วัน ๔ ฯ ๓ ค่่า

เมื่อจวนรุ่งสดุ้งคว้าหาผ้าห่ม

ไม่รู้ตัวรู้ตนจนตกใจ

.

.

.

ก่าแพงเมืองเรื่องหนึ่งฉันอึ้งอัด

รัชกาลที่สองลองประมาณ

ที่หัวแหลมล่านทีมีหาดเขื่อง

ยาวยี่สิบเส้นหย่อนผ่อนลงไป

อันส่วนกว้างห้าเส้นยังเป็นเศษ

ป้อมหกทิศใช้ชนิดเท่าเทียมทัน

ด้วยเมืองนี้ที่ลุ่มเลิกดินทิ้ง

ใช้ก่าแพงอิฐต้านทานประทะ

ทิ้งดินแต่ในระหว่างค่อยบางหน่อย

ปลายก่าแพงเสมาบางเปนอย่างไทย

มีมหาวิฆเนศว์รพักตร์เพศช้าง

เดิมจะอยู่แห่งใดไปได้มา

เห็นมีเครื่องบูชาคาระวะ

มีฉางเข้าอยู่ฝั่งข้างซ้ายมือ

บ้านเจ้าเมืองเยื้องข้างประจิมทิศ

มีสระกว้างยาวใหญ่ในนัครา

ไม่มีใครในก่าแพงกี่แห่งนัก

ท่านาได้ในจังหวัดไม่ขัดเคือง

.

.

.

พรุ่งนี้ยังเที่ยวได้ฉันไม่กลัว

เสวยในเขาวงก์ทรงท่าเครื่อง

ขอสงบจบความตามข้อเค้า

เสียงฝนพรมหนาววู่มาหมู่ใหญ่

ผ้าผืนใหญ่ยังไม่วายหายเหน็บชา

.

.

.

ไม่ทราบชัดเรื่องรายย้ายสถาน

ยกปราการข้ามตั้งฝั่งอุไทย

หน้าเมืองด้านรีตรงลงทิศใต้

เป็นด้วยไม้วาเฟือนไม่เหมือนกัน

อยู่ในเขตรหกเส้นเห็นจะมั่น

ประตูนั้นหกช่องต้องตามระยะ

ดูลึกจริงตรงกลางเหมือนดั่งสระ

โดยหนากะเจ็ดศอกพอกถึงใน

ดูสูงลอยเบ็ดเสร็จเจ็ดศอกได้

หลักเมืองใช้เสาไม้แก่นแทนศิลา

สององค์วางอยู่ที่นั่นขันนักหนา

มิได้ปรากฏเรื่องใครเลื่องฦๅ

ชรอยจะเปนที่คนนับถือ

สองหลังคือฉางหลวงกระทรวงนา

ตึกดินติดหลังซุ้มป้อมมุมขวา

เปนที่อาศรัยน้่าส่าหรับเมือง

เปนตมปลักล่าลาบเปนมาบเหมือง

เปนสิ้นเรื่องทอดพระเนตรสังเกตมา

.

.

.

จะขอถัวเอาไปไว้ ใช้ตอนเช้า

ไม่ยักเบื้องท่าทางคงอย่างเก่า

ไว้ค่อยเล่าต่อพรุ่งนี้มีเวลา ฯ

. . . . . . . . . . . . . . . จากบทพระราชนิพนธ์นี้ ทำให้เห็นถึงสภาพบ้านเมืองราชบุรีที่ไม่ทราบประวัติเรื่องการย้ายเมืองที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าคงสร้างเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยยกเมืองมาตั้งทางฝั่งตะวันออก เมืองมีขนาด ยาว ๒๐ เส้น กว้าง ๕ เส้นเศษ มีป้อม ๖ ทิศประตู ๖ ช่อง พื้นที่ในเมืองลุ่มมาก กำแพงเมืองเป็นกำแพงอิฐ หนา ๗ ศอก สูง ๗ ศอก ก่อพอกแล้วอัดดินด้านใน ปลายกำแพงเป็นเสมาอย่างไทย หลักเมืองเป็นเสาไม้แก่น มีพระพิฆเนศวร์สององค์ใหญ่ตั้งอยู่ มีเครื่องบูชาแสดงถึงเป็นที่คนนับถือ ทางซ้ายมือมีฉางข้าว ๒ หลังเป็นฉางหลวงของกระทรวงนา บ้านเจ้าเมืองอยู่เยื้องไปทางทิศตะวันตก ในเมืองมีสระน้ำขนาดใหญ่ เป็นน้ำที่ใช้อาศัยภายในเมือง ในกำแพงเมืองมีคนอยู่ไม่มาก พื้นที่เป็นที่ลุ่มสามารถทำนาได้ดี

. . . . . . . . . . . . . . . นอกจากนี้ พบเอกสารหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือ“สมุดราชบุรี พ.ศ.๒๔๖๘” มีข้อความที่ระบุการสร้างเมืองราชบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๒ (หน้า ๓๑-๓๒)๒ดังนี้

. . . . . . . . . . . . . . . “ครั้นต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เปนราชธานีในรัชกาลแห่งสมเด็จพระราชาธิบดีที่ ๒ จึงได้มีหลักถานการสร้างเมืองราชบุรีปรากฏเปนแน่นอนว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองเดิม ซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันตก ฝั่งขวาล่าน้่าแม่กลอง ไปตั้งทางฝั่งซ้ายของแม่น้่า คือ ทิศตะวันออก เยื้องกันข้ามกับเมืองเดิม เริ่มแต่วันอังคาร แรม ๑๓ ค่่า เดือนหก ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ พุทธศักราช๒๓๖๐ (ร.ศ.๓๖) มีการฉลอง ๓ วัน ครั้นถึงวันพฤหัสบดีแรม ๑๕ ค่่า เวลา ๗ ก.ท. ถึงก่าหนดฤกษ์ ฝังหลักเมือง แล้วก่อสร้างก่าแพงเมืองแลสิ่งอื่นๆ ต่อไป ก่าแพงนี้ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน รูปก่าแพงเป็นใบเสมาดังเช่นก่าแพงเมืองอื่นๆ มีป้อม ๖ ป้อม ประตู ๖ ประตูมีอาณาเขตต์กว้างประมาณ ๕ เส้น ยาวประมาณ ๒๐ เส้น ภายในก่าแพงเมือง บัดนี้เปนที่ตั้งแห่ง กองพลทหารบกที่ ๔…
. . . . . . . . . . . . . . . . .การที่โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งเมืองจากฝั่งขวาเดิมไปอยู่ยังฝั่งซ้ายนี้ ปรากฏว่า เพราะที่ตั้งเมืองเดิมไม่เหมาะแก่ทาง
ยุทธศาสตร์ด้วยว่าเวลาท่าศึกกับพม่า ซึ่งมีสนามรบตรงทุ่งเขางูและเหนือขึ้นไปนั้น ขณะท่าการรบหากจะต้องถอยทัพ ก็เปนการติดขัดเพราะแม่น้่าขวางอยู่ทางหลัง เปนการเสียเปรียบข้าศึกอยู่ เห็นว่าทางฝั่งซ้ายเปนท่าเลเหมาะกว่า ด้วยแม้ในเวลารบจะเสียทีข้าศึก แต่ข้าศึกก็จะเข้าถึงตัวเมืองได้ยาก โดยมีแม่น้่าขวางหน้าอยู่ การคงเป็นดังนี้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายและสร้างก่าแพงและป้อมขึ้นอย่างแน่นหนามั่นคง แต่ตั้งแต่สร้างเมืองใหม่ซึ่งนับว่าเปนเมืองที่ ๒ นี้แล้วก็ไม่เคยมีกองทัพข้าศึกได้ยกเข้ามาท่าสงครามถึงในเขตต์เมืองนี้อีกเลย”

. . . . . . . . . .หลักฐานภาพถ่ายศาลหลักเมืองราชบุรีเป็นหลักฐานชั้นต้นที่เก่าที่สุด พบในหนังสือ “สมุดราชบุรีพ.ศ.๒๔๖๘” จัดพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๖๘โดยปรากฏหลักฐานว่า ทรงจัดให้มีพิธีฝังหลักเมือง มีการสมโภช ๓ วัน ๓ คืน ตั้งแต่วันอังคาร แรม ๑๓ ค่่า เดือน ๖ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ.๒๓๖๐ (ร.ศ.๓๖)จนถึงวันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่่า เวลา ๗ ก.ท. ถึงก่าหนดฤกษ์ฝังหลักเมือง ส่วนรูปแบบการฝังหลักเมืองไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่ชัด ดังนั้น จึงเทียบเคียงการฝังหลักเมืองสมุทรปราการ ในปีพ.ศ.๒๓๖๕ ซึ่งเป็นหลักเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ร่วมสมัยกับหลักเมืองราชบุรี ดังนี้

. . . . . . . . . . . .“…การสร้างเมืองสมุทรปราการได้ท่าพิธีฝังหลักเมือง เริ่มเมื่อ ณ วันอาทิตย์เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่่า ปีมะเมีย จัตวาศก ณ วันพุธเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่่า ย่่ารุ่งแล้ว๔นาฬิกา ๖ บาท ได้ฤกษ์เอาแผ่น ยันต์ทอง, เงิน, ทองแดง, ดีบุก, แลศิลา, ลงสู่ภูมิบาท แล้วยกเสาหลักเมือง ครั้น ณ วันเสาร์เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่่า เวลาเช้าย่่ารุ่งแล้ว ๕ นาฬิกา ๖ บาท ฝังอาถรรพณ์แผ่นยันต์องครักษ์อีกครั้ง ๑”

. . . . . . . . . . . . . .การตั้งถิ่นฐานของคนในอดีตนั้นจะต้องเลือกพื้นที่ที่มีชัยภูมิที่ดีทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์รวมถึงตั้งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ เมื่อเลือกทำเลที่ตั้งของเมืองได้แล้วจะมีการกำหนดขอบเขตและแสดงว่าเลือกพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองอย่างถาวร โดยการฝังเสาหลักเมืองพร้อมกับสิ่งมงคลต่างๆ (ดวงเมืองแผ่นเงิน แผ่นทอง) เมื่อมีการฝังหลักเมืองแล้วจึงมีการก่อสร้างสิ่งอื่นๆ ต่อไป หรือมีการสร้างกำแพงและป้อมปราการก่อนแล้วจึงฝังหลักเมือง มีการพบหลักฐานของหลักเมืองราชบุรีสองสมัยด้วยกัน คือหลักเมืองในสมัยอยุธยาและหลักเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๒) ถือเป็นธรรมเนียมว่าเมื่อจะสร้างบ้านแปลงเมืองนั้นจำเป็นจะต้องฝังหลักเมือง ซึ่งเปรียบเสมือนเสาเอกของบ้าน พระธรรมปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุวรวิหารราชบุรีและคุณกิมกวงเอี่ยมสำอาง ได้กล่าวถึงร่องรอยเนินดินที่มีเศษอิฐบริเวณวัดเขาเหลือ (ฝั่งด้านทิศเหนือ) และสันนิษฐานว่าเป็นบริเวณที่ฝังหลักเมืองในสมัยอยุธยา(ภาพที่ ๕) ปัจจุบันอยู่ในเขตชุมชนและชาวบ้านปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างทับ๓

. . . . . . . . . . ปัจจุบันศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ยังคงอยู่ในบริเวณกำแพงเมืองเก่า ถึงแม้นว่าในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ในรัชสมัพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดระเบียบหัวเมืองขึ้นใหม่ โดยแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล มีการจัดตั้งมณฑลราชบุรี จึงได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรีกลับไปอยู่ทางฝงขวา(ตะวันตก) ของแมน ้าแมกลอง ไปรวมอยู่ที่ศาลาว่าการมณฑล คือตึกของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)ทำให้ศูนย์กลางของเมืองราชบุรีย้ายกลับมาทางฝั่งขวา(ตะวันตก)ของแม่น้ำแม่กลองตามที่เคยเป็นมาแต่เดิม แต่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ยังคงตั้งอยู่ที่เดิมมิได้ยายตามไปด้วย

. . . . . . . . . ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๖ ได้ปรับพื้นที่ในบริเวณกำแพงเมืองเก่าให้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ และกรมทหารบกราบที่ ๔ จนมาเป็นที่ตั้งของกรมการทหารชางในปจจุบัน “ศาลหลักเมืองราชบุรี” จึงเป็นศาลหลักเมืองแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ตั้งอยูในคายทหาร และตั้งอยู่ที่เดิมเมื่อแรกสร้างมาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๖๐ จนถึงปัจจุบัน โดยกรมการทหารช่าง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลและทำนุบำรุงรักษาศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย

. . . . . . . . . ศาลหลักเมืองราชบุรี มีลักษณะเป็น “มณฑปยอดปรางค์ทรงจตุรมุข ยกพื้น ๒ ชั้น ชั้นมณฑปทำบันใดขึ้น ๔ ด้าน ชั้นล่างเป็นระบียงผังทรงกลม ทำรั้วแก้วเปิดบันไดทางขึ้นศาลตรงกับกับจตุรมุขทั้งสี่ด้าน” ภายในประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยหลักเมือง เจว็ด พระพิฆเนศ ๒ องค์ มีลักษณะ ดังนี้

. . .หลักเมือง มีลักษณะเป็นเสาแปดเหลี่ยมทำจากไม้ตั้งอยู่บนฐานกลม ส่วนยอดของเสามีลักษณะเป็นหัวเม็ด ขนาดเฉพาะตัวเสาสูง ๑๓๑ เซนติเมตรกว้าง ๓๐ เซนติเมตร ฐานสูง ๑๘ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๖๐ เซนติเมตร
. . .เจว็ด ตั้งอยู่ด้านหลังหลักเมือง มีลักษณะคล้าย ใบเสมาทรงสอบสูง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมขนาดสูง ๑๔๑ เซนติเมตรกว้าง ๑๗ เซนติเมตรฐานสูง ๒๗ เซนติเมตร กว้าง ๔๘ เซนติเมตร

. . .พระพิฆเนศ (องค์ใหญ่) มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองข้างกุมอยู่ที่พระอุทร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๕เซนติเมตร สูง ๗๑ เซนติเมตร
. . .พระพิฆเนศ (องค์เล็ก) มีลักษณะประทับนั่งชันเข่าขวาข้างเดียว ลักษณะปางไม่ชัดเจน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๘ เซนติเมตร สูง ๗๑ เซนติเมตร

การบูรณะปรับปรุงศาลหลักเมืองราชบุรี ภายหลังจากที่กรมศิลปากร ได้สร้างศาลขึ้นใหม่แล้ว ดังนี้

พ.ศ.๒๕๒๗ ❀ กรมการทหารช่าง ได้ออกแบบบูรณะและปรับปรุงศาลหลักเมืองขึ้นใหม่

พ.ศ.๒๕๕๔ ❀ พลโท นิพนธ์ ปานมงคล (จก.กช.) สร้างมุขหลังคาด้านหน้า เพื่อใช้หลบแดด หลบฝนให้กับผู้ที่เดินทางมาสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง (ของเดิมเป็นเต็นท์กางไว้) และในปี พ.ศ.๒๕๕๕ ได้สร้างมุขหลังคาด้านซ้ายและด้านขวา เพิ่มขึ้นอีก ๒ ด้าน

พ.ศ.๒๕๕๗ ❀ พลโท สถาพร สีมาสุรรักษ์ (จก.กช.)สร้างมุขด้านหลังเพิ่มอีกด้านหนึ่ง จนครบทุกด้าน

พ.ศ.๒๕๕๘ ❀ พลโท ธนดล สุรารักษ์ (จก.กช.) ได้ปรับปรุงตกแต่งมุขหลังคาทั้ง ๔ ด้านด้วยลวดบัว ให้มีความวิจิตรสวยงาม สอดคล้องกับอาคารศาลหลักเมือง

. . . . . ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี เป็นสิ่งศักดิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวเมืองราชบุรีและคนในจังหวัดใกล้เคียงเมื่อแขกต่างบ้านต่างเมืองมาเยือน ก็ต้องมากราบไหว้สักการะ “เสาหลักเมือง” หรือ “เจ้าพ่อหลักเมือง” จนเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา มีการจัดงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกปี คนราชบุรีจะเรียกงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี ว่า งานฝั่งทหารเพราะตัวเมืองราชบุรีอยู่คนละฝั่งแม่น้ำแม่กลองกับค่ายภาณุรังษี และในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ได้จัดให้มีการสมโภช ๒๐๐ ปีศาลหลักเมืองราชบุรีระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ (๗ วัน ๗ คืน)มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความรักความสามัคคีปรองดอง ภายในพิธีประกอบด้วย การบวงสรวงศาลหลักเมืองด้วยพิธีพราหมณ์พิธีสงฆ์ และการรำถวายจาก ๘ ชาติพันธุ์ ซึ่งมีถิ่นอาศัยในจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ไท-ยวน ไทยทรงดำไทยลาวตี้ ไทยมอญ ไทยจีน ไทยกะเหรี่ยง ไทยเขมรและไทยพื้นถิ่นกว่า ๒,๐๐๐ คน รำถวายด้วยท่ารำ ๘ ท่า ที่มีความหมายถึงการกราบบูชา ขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองบ้านเมือง

ที่มา : หลักเมืองราชบุรี.pdf - Google ไดรฟ์