โรงเรียนควายบ้านหนองตาดั้ง

. . . บ้านหนองตาดั้ง เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย - เมียนมา ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เดิมจะยึดอาชีพปลูกข้าวไร่ พืชไร่ตามหุบเขา ซึ่งบางปีก็ไม่ได้ผลผลิต เพราะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เข้ามาส่งเสริมด้านอาชีพ พร้อมการจัดตั้งธนาคารควายและโรงเรียนควายให้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำนาบนพื้นที่ราบในหุบเขา โดยฝึกควายให้รู้จักทำงาน ไถนาได้ ลากเกวียนเป็น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ควายปรับพื้นที่สำหรับปลูกข้าวและพืชไร่ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต

. . . ชุมชนบ้านหนองตาดั้ง ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ใกล้ชายแดนไทย – เมียนมา มีประชากร 42 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาตะนาวศรี ส่งผลทำให้การปลูกข้าวและพืชไร่ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

. . . แต่หลังจากปี พ.ศ.2539 ได้มีการจัดทำ โครงการแหล่งผลิตอาหารและวนเกษตร เพื่อส่งเสริมอาชีพและเป็นแหล่งผลิตอาหาร ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้กับชาวบ้าน พร้อมกับการสร้างความสมดุลตามธรรมชาติ

. . . สุดท้ายคือ การเพิ่มชั่วโมงบิน ด้วยการไถนาจริงแบบเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งควายสามารถเรียนรู้และมีความชำนาญในการไถนา ใช้ระยะเวลาในการฝึกตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี แต่ควายที่จะใช้งานได้จริงและส่งมอบให้กับชาวบ้าน ต้องเป็นควายที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากร่างกายจะมีความพร้อม สมบูรณ์ที่สุด

🐃 ควาย มีลักษณะรูปร่างที่เหมาะสมกับการใช้แรงงาน คือ มีรูปร่างบึกบึน กีบใหญ่ แข็งแรงและเป็นสัตว์ที่ฝึกง่ายมีกำลังฉุดลากถึง ๐.๘๙ แรงม้า เป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์ต่อเจ้าของความสามารถของควายใช้งานได้ทุกสภาพพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม ที่ดอน และใช้แรงงานได้ทุกประเภท เช่น ไถนา ไถไร่ คราด ปรับหน้าดิน ฉุดรหัสวิดน้ำ ลากเกวียน เป็นต้น

. . . การฝึกควายไถนา เริ่มโดยการนำควายมาเทียบไถ โดยใช้แอกใหญ่วางลงบนคอของควายแล้วมัดสายรัดคอให้พอดี ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป ในการไถต้องใช้คนจำนวน ๒ คน คนที่ ๑ จับเชือกจุงนำให้เดินไปข้างหน้า คนที่ ๒ จับหางไถ ในการฝึกช่วงแรกจะต้องไม่ให้ไถปักลงไปในดินโดยกดหางไถไว้เพื่อให้ควายเกิดความเคยชินกับไถ เมื่อควายไม่ตื่นตกใจแล้วก็ให้ค่อย ๆ ปักไถให้เช้าไปในเนื้อดิน คนที่ถือหางไถจะเป็นคนบังดับควายให้เดินไปตามทิศทางที่ต้องการ ค่อย ๆ ฝึกโดยในวันแรกอาจใช้เวลา ๓๐นาที แล้วในวันต่อๆ มาค่อยๆ เพิ่มเวลามากขึ้น

. . . การฝึกควายไถนาได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของควาย ควายบางตัวอาจใช้เวลาฝึกเพียง๑-๒ สัปดาห์ แต่บางตัวอาจใช้เวลานานประมาณ ๑-๒ เดือน ควายแต่ละตัวไถนาได้วันละ ๑.๕ - ๐.๙ ไร่ ทำงานเฉลี่ยวันละ ๕ ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีระยะเวลา ๔-๕ เดือน ซึ่งควายแต่ละตัวสามารถไถนาได้ ๕ ๑๐ไร่/ ต่อปี การใช้ควายไถนาจะทำให้สามารถลดรายจ่ายการจ้างรถไถนา ซึ่งค่าจ้างไถไร่ละ ๔๐๐ บาท

ชุดไถหรืออุปกรณ์ไถ ประกอบด้วย

  • แอกใหญ่ เป็นอุปกรณ์ที่วางบนดอดวายเมื่อจะทำการไถ จะทำจากไม้เนื้อแข็ง ซึ่งต้องเลือกไม้ที่มีลักษณะโค้งรับกับคอของควาย แล้วนำมากากตกแต่งให้กลม และมีลักษณะคล้ายกับหนวดงอนหรือระฆังคว่ำ คือส่วนที่รับกับคอควาย จะโค้งลง ส่วนปลายทั้ง ๒ ข้าง จะงอนขึ้น เพื่อผูกเชือกไถ ทำหน้าที่รับแรงฉุดของควาย
  • สายรัดคอ สมัยก่อนทำจากเปลือกไม้เหนียว ส่วนปัจจุบันตัดแปลงทำจากยางนอกจักรยานหรือสายพานโรงสี จะมีลักษณะแบบโค้งครึ่งวงกลมขนาด (๒'๒.๕) x (๑๒'-๑๖) นิ้ว ส่วน ปลาย ๒ ข้างจะเจาะรูเพื่อร้อยเชือก เพื่อผูกยึดแอกใหญ่ ด้านขวาของแอกใหญ่จะผูกไว้แบบถาวร และเมื่อนำควายเช้าเทียมไถก็จะใช้ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งผูกแบบชั่วคราวทางด้านซ้ายของแอกใหญ่ ซึ่งเชือกที่สอดผ่านนี้จะอยู่ด้านล่างหรืออยู่ใต้สายวัดคอนั่นเอง
  • เชือกไถ จะใช้เชือกที่มีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง *๕๒0 มม. มีความเหนียวและมีความยืดหยุ่นน้อย เช่น เชือกมะนิลา ความยาวประมาณ ๒ เมตร และสามารถปรับได้ตามความยาวของควาย เชือกไถจะมี ๒ เส้น ด้านซ้าย-ขวา โดยจะผูกระหว่างแอกเล็กกับแอกใหญ่ เชือกไถทำหน้าที่ในการถ่ายเทแรงฉุดของควายจากแอกใหญ่ไปยังแอกเล็ก
  • การฝึกจูง การจูงควายหมายถึงการที่อยู่ด้านหน้าของควายแล้วดึงเชือกเพื่อให้ควายเดินหน้าในการจูงไม่ควรยกระดับเชือกให้สูงเกินไป ระดับที่เหมาะสม คือ ระดับเอวของผู้จูง ไม่ควรใช้ป่าแบกเชือกแล้วจูงเพราะจะทำให้ควายดื้อเชือกได้ "การดื้อเชือก หมายถึง ดึงไม่หยุด หรือจูงไม่เดินหน้า" หลังจากจูงแล้วควรฝึกผูกล่าม เพื่อให้ควายแทะเล็มหญ้า และต้องคอยสังเกตเรื่อย ๆ เนื่องจากควายยังไม่เป็นเชือกหรือรู้ภาษาเชือก เพราะเชือกสามารถพันขาได้ และห้ามผุกล่ามในบริเวณที่มีน้ำท่วมชังเด็ดขาด เพราะถ้าหากเชือกพันขาแล้ว ส่วนหน้าของควายจะถูกดึงลงจมน้ำตายได้
  • การฝึกบังคับให้ควายเลี้ยวซ้าย-ขวา เมื่อต้องการให้ควายเลี้ยวซ้ายขณะที่เดินตามหลังควายจะใช้วิธีดึงเชือกเข้าหาตัวควายก็จะเลี้ยวซ้าย และถ้าหากต้องการให้ควายเลี้ยวขวาจะใช้วิธีการกระตุกเชือกเบา ๆ และถี่ ๆ ควายก็จะเลี้ยวขวาตามที่ต้องการ
  • การบังคับควายหยุด เมื่อต้องการให้ควายหยุดขณะเดินตามหลังควาย จะใช้วิธีดึงเชือกแล้วส่งเสียงบอกให้ควายหยุด ฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ควายก็จะหยุด ตามที่เราต้องการ
  • การบังคับควายเดินหน้าและถอยหลัง นอกจากเราจะใช้วิธีการจูงควายให้เดินหน้าแล้วขณะเมื่อเดินตามหลังควาย ก็สามารถใช้ไม้เรียวตีที่สะโพกหรือใช้เชือกที่ถืออยู่สบัดให้ดีส่วนข้างของลำตัวควายได้ซึ่งวิธีนี้จะใช้ขณะที่กำลังไถหรือคราด และเมื่อต้องการให้ควายถอยหลัง ต้องจับเชือกสะพายควายทางด้านซ้ายแล้วเดินไปด้านหน้าของควาย หรือจับเชื่อกสะพายทั้งข้างแล้ว ยกหัวควายขึ้นเล็กน้อยกระตุกเชือกสะพาย ส่งเสียงบอกให้ดวายถอยหลังพร้อมดันให้ควายถอยหลังด้วย และขณะที่กำลังไถ ควายเป็นเชือกดีแล้ว เราสามารถบังดับควายถอยจากด้านหลังของควายได้ โดยดึงเชือกสลับกับการกระตุกเชือกเบา  ๆ พร้อมส่งเสียงบอกควาย "ถอย ๆ ๆ" ควายก็จะถอยหลัง ซึ่งใช้ในกรณีที่ไถต่อเนื่องได้